วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ประเภทเครื่องหมายวรรคตอน



ในเอกสารโบราณของไทยมีเครื่องหมายวรรคตอนของไทยอยู่หลายตัว และบางตัวนิยมใช้มาถึงปัจจุบัน โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มตามเกณฑ์การใช้งาน ดังนี้
  1. เครื่องหมายกำกับเสียง ได้แก่
    1. ไม้ยมก : ใช้เพื่อซ้ำเสียงเดิม
    2. ทัณฑฆาต : ใช้เพื่อฆ่าเสียง หรือเพื่อไม่ออกเสียงพยัญชนะที่กำกับไว้
    3. ยามักการ : ใช้เพื่อควบกล้ำเสียงพยัญชนะ
  2. เครื่องหมายกำกับวรรคตอน ได้แก่
    1. ไปยาลน้อย : ใช้ย่อคำ
    2. ไปยาลใหญ่ : ใช้ละข้อความ
    3. ฟองมัน : ใช้ขึ้นต้นประโยค หรือบทกลอน
    4. ฟองมันฟันหนู : ใช้ขึ้นต้นข้อความ
    5. อังคั่นเดี่ยว (ขั้นเดี่ยว) : ใช้เขียนเมื่อจบประโยค หรือเป็นเครื่องหมายบอกวันเดือนทางจันทรคติ
    6. อังคั่นคู่ (ขั้นคู่) : ใช้เขียนเมื่อจบข้อความใหญ่ หรือจบตอน
    7. อังคั่นวิสรรชนีย์ : ใช้เขียนเมื่อจบเรื่อง
    8. โคมูตร : ใช้เมื่อสิ้นสุดข้อความ หรือบทกลอน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ gif

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น