วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สรุปเครื่องหมายวรรคตอน

วันนี้เรามาดูเนื้อหาเรื่องเครื่องหมายวรรคตอน ในภาษาไทย ซึ่งจริงๆแล้วก็คือเครื่องหมายต่างๆ ที่อยู่ในภาษาไทยค่ะน้องๆ ครูเฟิร์สเข้าใจว่าหลายคน เคยเจอมาแล้ว จากการอ่านหนังสือต่างๆแต่ประเด่นที่เรามาศึกษาวันนี้คือ เราจะต้องมาดูว่าแต่ละตัวมีชื่ออะไรบ้าง และ มันทำอะไรได้บ้าง หน้าที่ของเครื่องหมายวรรคตอน
1. ——– มีชื่อเรียกว่า อัญประกาศ(ฟันหนู) มีหน้าที่ คือใช้คั่นข้อความที่เป็นคำพูด ของผู้อื่น หรือ ยกมาจากที่อื่น เช่น
  • วันนี้พี่สาวถามฉันว่า “น้องกินข้าวรึยัง?
2. _____ มีชื่อเรียกว่า สัญประกาศ(ขีดเส้นใต้) มีหน้าที่ ให้ขีดเส้นใต้คำ หรือข้อความที่เราจำเป็นต้องเน้นความสำคัญ เพื่อให้ผู้อ่านสังเกต และเห็นชัดเจน เช่น
  • ถ้าคนไทยทุกคน รักกันมากกว่า ประเทศชาติคงจะสงบสุข
3. (………) มีชื่อเรียกว่า นขลิขิต (เราชอบเรียกว่าวงเล็บ) มีหน้าที่ ใช้คั่นข้อความที่ต้องการให้อ่น ซึ่งต้องการอธิบาย หรือขยายความหมายของข้อความนั้น สังเกตจากข้างบนครูเฟิร์สก็มีการขยายความว่า “เราชอบเรียกว่าวงเล็บ”
4.  . มีชื่อเรียกว่า มหัพภาค (เราเรียกว่าจุด) มีหน้าที่ ใช้จบข้อความในประโยค หรือ กำกับตัวอักษรย่อ เช่น
  • ซอย ตัวย่อ คือ ซ. *จุดจะมองยากหน่อยนะคะเพราะตัวมันเล็ก
  • มกราคม ตัวย่อ คือ ม..
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตัวย่อ คือ ท...
5.   มีชื่อเรียกว่า ยัติภังค์ (เราเรียกว่าเครื่องหมาย ลบ) มีหน้าที่ เป็นเครื่องหมายต่อคำ ใช้ในกรณีที่เราเขียนจบบรรทัดแล้วแต่คำอีกพยางค์ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ เราก็จะใช้ เจ้า ยัติภังค์ ในการต่อเพื่อให้รู้ว่าคำ คำนั้นยังไม่จบ หรือ เราสามารถใช้กับตัวเลขก็ได้ มีความหมายว่า ถึง เช่น
  • ผู้ที่สอบเข้า ม.1 ได้ มีตั้งแต่ลำดับที่ 1  200 (หนึ่งถึงสองร้อย)
6. ฯลฯ มีชื่อเรียนกว่า ไปยาลใหญ่ (เราเรียกว่า เก้า ลอ เก้า) มีหน้าที่  บอกว่ายังมีคำ หรือ ข้อความต่อท้ายในลักษณะเดียวกันอีกหลายคำ หรือ หลายข้อความ โดยที่เราจะอ่าน ฯลฯ ว่าละ เช่น
  • ในสวนสัตว์มีสัตว์มากมาย เช่น ช้าง ม้า กระทิง หมี ฯลฯ โดยเราจะอ่านว่า ในสวนสัตว์มีสัตว์มากมาย เช่น ช้าง ม้า กระทิง หมี ละ
7.  มีชื่อเรียกว่า ไปยาลน้อย มีหน้าที่ ใช้ย่อข้อความที่เรารู้จักดีว่าชื่อเต็มคืออะไรทำให้เขียนสั้นลง แต่เวลาอ่านจะต้องอ่านเต็มข้อความ เช่น
  • กรุงเทพ ย่อมาจาก กรุงเทพมหานคร อ่านว่า กรุง-เทบ-มะ-หา-นะ-คอน
  • โปรดเกล้า ย่อมาจาก โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม อ่านว่า โปรด-เกล้า-โปรด-กระ-หม่อม
8. / มีชื่อเรียกว่า ทับ มีหน้าที่ ใช้คั่นระหว่างตัวเลข เพื่อแบ่งความหมายของตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าและข้างหลั เช่น
  • ป. 5/7 อ่านว่า ชั้น-ประ-ถม-สึก-สา-ปี-ที่-ห้า-ทับ-เจ็ด
9. ! มีชื่อเรียกว่า อัศเจรีย์ (เราเรียกว่าเครื่องหมายตกใจ) มีหน้าที่ ใช้บอกว่าคำเป็นคำอุทาน หรือ จะใช้บอกความรู้สึก ซึ่งจะแสดงอาการต่างๆ เช่น ตกใจ เสียใจ ดีใจ แปลกใจ
  • โอ้โฮ! บ้านเธอหลังใหญ่จัง
  • ห๊ะ! เธอสอบได้ที่ 1 เหรอ
10. = มีชื่อเรียกว่า เสมอภาค (เราเรียกว่าเครื่องหมายเท่ากับ) มีหน้าที่ แสดงว่าข้อหน้าและข้างหลังเสมอภาค มีความเท่ากัน เช่น
  • 10 + 5 = 15 อ่านว่า สิบ-บวก-ห้า-เท่ากับ-สิบห้า
11. , มีชื่อเรียกว่า จุลภาค (เราเรียกว่าลูกน้ำ) มีหน้าที่ ใช้คั่นคำหลายๆคำ ที่เรียงกัน เช่น
  • หมู, เห็ด, เป็ด, และ ไก่
12. ? มีชื่อเรียกว่า ปรัศนี (เราเรียกว่าเครื่องหมายคำถาม) มีหน้าที่ เขียนข้างหลังสุดของประโยค เพื่อบอกให้รู้ว่านี้คือ ประโยคคำถาม เช่น
  • เธอกินข้าวรึยัง?
เป็นอย่างไรกันบ้างคะน้องๆ หลักๆ เครื่องหมายในภาษาไทยจะมีประมาณ 12 ตัว มีบางตัวที่มีชื่อเรียกต่าง จากที่เราเรียก และ มีในการออกสอบบ่อยมาก เช่น เครื่องหมายฟันหนู เราจะเรียกว่า เครื่องหมาย อัญประกาศ, เครื่องหมายตกใจ เราจะเรียกว่า อัศเจรีย์, และ เครื่องหมายคำถาม เราจะเรียกว่า ปรัศนี อันนี้เป็นเครื่องหมายที่ครูเฟิร์สเห็นออกสอบบ่อยมากๆ แต่ยังไงน้องๆก็ควรจำตัวอื่นๆด้วยนะคะ







ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ gif เคลื่อนไหว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น