วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ประเภทเครื่องหมายวรรคตอน(ต่อ)

1. ไม้ยมก หรือ ยมก  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้  
     มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
     ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือประโยค เพื่อให้อ่านซ้ำคำ วลี หรือประโยค อีกครั้งหนึ่ง   ตัวอย่าง
         1. เด็กเล็ก ๆ        อ่านว่า    เด็กเล็กเล็ก
         2. ในวันหนึ่ง ๆ    อ่านว่า   ในวันหนึ่งวันหนึ่ง
         3. แต่ละวัน ๆ       อ่านว่า   แต่ละวันแต่ละวัน
        หมายเหตุ
           1. คำที่เป็นคำซ้ำ ต้องใช้ไม้ยมก หรือยมก (ๆ) เสมอเช่น          สีดำๆ     เด็กตัวเล็ก ๆ
           2.  ห้ามใช้ไม้ยมก หรือยมก (ๆ) ในกรณีดังต่อไปนี้
                2.1 เมื่อเป็นคำคนละบท คนละความ เช่น
                      “ฉันจะไปปทุมวัน ๆ นี้” ผิด  ต้องเขียนเป็น  “ฉันจะไปปทุมวันวันนี้
                2.2 เมื่อรู้คำเดิมเป็นคำ พยางค์ ที่มีเสียงซ้ำกัน เช่น
                       นานา  เช่น  นานาชาติ   นานาประการ
                2.3 เมื่อเป็นคำคนละชนิดกัน  เช่น
                      คนคนนี้มีวินัย (คน คำแรกเป็นคำสามานยนาม  คน คำหลังเป็นลักษณะนาม)
                2.4 เมื่อเป็นคำประพันธ์  เช่น
                      หวั่นหวั่นจิตคิดคิดครวญครวญหา
                      คอยคอยหายหลายหลายนัดผัดผัดมา
2. ทัณฑะฆาต  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้  ( ์ )
    มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
           ใช้เติมเหนือพยัญชนะ พร้อมด้วยสระบนและสระล่าง ที่ไม่ต้องการให้ออกเสียง แต่ต้องการคงรูปแบบตัวอักษรไว้            หรือไม่  สามารถออกเสียงได้ในภาษาไทย ตัวอักษรที่เติมไม้ทัณฑฆาตเรียกว่าตัวการันต์ ส่วนใหญ่คำที่ปรากฏทันฑฆาต จะเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศหรือคำทับศัพท์ บางคนเขียนทัณฑฆาตคล้ายเลขไทย (๙)คำที่ปรากฏทัณฑฆาตแต่ยังคงออกเสียง        พยัญชนะอยู่ มีเพียงคำเดียวเท่านั้นคือ สิริกิติ์ (อ่านว่า สิ-หริ-กิด) ในการเขียนภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤตด้วยอักษรไทย บุคคลบางกลุ่มใช้ทัณฑฆาตเป็นเครื่องหมายระบุพยัญชนะสะกด แต่ส่วนใหญ่จะใช้พินทุ (-ฺ) แทน
3. โคมูตร (โค-มูด) หรือ เยี่ยววัวฆาต  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้  (๛)
             เป็นเครื่องหมายวรรคตอนไทยโบราณ ใช้เมื่อเติมท้ายเมื่อจบบทหรือจบเล่ม พบได้ในหนังสือ หรือบทกลอนรุ่นเก่า ถ้าใช้คู่กับอังคั่นคู่และวิสรรชนีย์ จะเป็น อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛) ซึ่งหมายถึงจบบริบูรณ์
ที่มาและการใช้
          คำว่า โคมูตร มีความหมายว่า เยี่ยววัว ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน แต่ปรากฏในหนังสือรุ่นเก่าๆ จำพวกร้อยกรอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาสันสกฤต มีคำว่า โคมูตฺร มีความหมายว่า คล้ายรอยเยี่ยววัว ลักษณะของเส้นที่คดไปมา หรือเส้นฟันปลา จึงเป็นไปได้ว่าเราน่าจะเรียกเครื่องหมายนี้ ตามอย่างหนังสือสันสกฤตมาตั้งแต่ครั้งโบราณ
ในประชุมลำนำของหลวงธรรมามณฑ์ (ถึก จิตรถึก) เรียกเครื่องหมายนี้ว่า สูตรนารายณ์ ระบุการใช้ว่า ใช้หลังวิสรรชนีย์ (ที่ปิดท้ายสุด) ในปัจจุบันไม่ค่อยมีผู้ใช้เครื่องหมายโคมูตร อาจพบได้ในงานของกวีบางท่าน เช่น อังคาร กัลยาณพงศ์ เป็นต้น
อนึ่ง โคมูตร ยังหมายถึง กลุ่มดาวในวิชาดาราศาสตร์ไทย เรียกว่าดาวฤกษ์มฆา ประกอบด้วยดาว ดวง คือ ดาววานร ดาวงอน ดาวไถ ดาวงูผู้ และดาวมฆ หรือดาวมาฆะ (การเรียกกลุ่มดาวฤกษ์ของไทยนั้น นิยมเรียก เพียงแต่ดาว แล้วตามด้วยชื่อ ไม่เรียกว่า กลุ่มดาว อย่างวิชาดาราศาสตร์ในปัจจุบัน)
ตัวอย่าง
                                                          ๏ จก ภพผุดท่ามเวิ้ง. วรรณศิลป์
                                                          จี้ แก่นชาติหวาดถวิล. เล่าไว้
                                                          รี้ รี้สั่งสายสินธุ์..... ครวญคร่ำ
                                                          ไร แก่นชีวิตไร้.... เร่งรู้พุทธธรรม ๚ะ๛
จาก เพียงครู่หนึ่งก็ม้วยเสมอฝัน ของ อังคาร กัลยาณพงศ์




4. ยามักการ หรือ ยามักการ์  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้  (-๎)
          มีลักษณะคล้ายเลขอารบิก 3 ที่กลับด้าน (Ɛใช้เติมเหนือพยัญชนะ ที่ต้องการระบุว่าพยัญชนะใดเป็นอักษรนำ หรืออักษรควบกล้ำ เช่น ส๎วากฺขาโต (สะ-หวาก-ขา-โต) พ๎ราห๎มณ (พราม-มะ-นะ)
ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายทัณฑฆาต (-์) แต่ยังสามารถพบได้ในหนังสือมนต์พิธี (หนังสือสวดมนต์) ตำ
5. ไปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้  
     มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
         1. ใช้ละคำที่รู้กันดีแล้วโดยละส่วนท้ายไว้เหลือแต่ส่วนหน้าของคำพอเป็นที่เข้าใจ  เช่น
        กรุงเทพฯ   คำเต็มคือ   กรุงเทพมหานคร
         2. ใช้ละส่วนท้ายของวิสามานยนาม ซึ่งได้กล่าวมาก่อนแล้ว เช่น
         มหามกุฎราชวิทยาลัย   เขียนเป็น   มหามกุฎฯ
           หมายเหตุ
           ก. สำหรับคำที่เป็นแบบแผน (ดังปรากฏในข้อ 1) ในเวลาอ่านจะต้องอ่านเต็มจึงจะนับว่าอ่านถูกต้อง
           ข. ถ้าไม่ใช่คำที่เป็นแบบแผน (ดังปรากฏในข้อ 2) จะอ่านเต็มหรือไม่ก็ได้
          3. คำว่า ” ฯพณฯ “  อ่านว่า  “พะนะท่าน “  ใช้เป็นคำหน้าชื่อ หรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีขึ้น     ไปและเอกอัครราชทูต  เป็นต้น
        เช่น  ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี
                ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
6. ไปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่ ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้  ฯลฯ     
      
มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
             1. ใช้สำหรับละข้อความข้างท้ายที่อยู่ในประเภทเดียวกันซึ่งยังมีอีกมาก แต่ไม่ได้นำมาแสดงไว้  เช่น   สิ่งของที่ซื้อขายกันในตลาดมี เนื้อสัตว์ ผัก น้ำตาล น้ำปลา ฯลฯ
          การอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่หรือเปยยาลใหญ่ที่อยู่ข้างท้ายข้อความให้อ่านว่า ละ”  หรือ และอื่น
             2. โบราณใช้ละคำหรือข้อความที่อยู่ตรงกลางก็ได้ โดยบอกตอนต้นและตอนจบไว้ เช่น  พยัญชนะไทย 44 ตัว มี ก ฯลฯ ฮ
          การอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่ ที่อยู่ตรงกลางข้อความ อ่านว่า ละถึง
                


7. ฟองมัน หรือ ตาไก่  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้ (๏)
          เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อขึ้นต้นบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว โดยไม่จำเป็นต้องย่อหน้าหรือขึ้นบรรทัดใหม่ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้นิยมใช้ฟองมันเมื่อขึ้นต้นบทร้อยกรองเท่านั้น
                                         ๏ เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระวสา
                                            รับกฐินภิญโญโมทนา
                                            ชุลีลาลงเรือเหลืออาลัย

               นอกจากเครื่องหมายฟองมันที่เป็นรูปวงกลมแล้ว ในสมัยโบราณยังนิยมใช้เครื่องหมาย ฟองมันฟันหนู ( ̎ ) นั่นคือ มีเครื่องหมาย ฟันหนู (") วางอยู่บนฟองมัน ใช้กำกับเมื่อจะขึ้นต้นบท หรือตอน โดยมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น ฟันหนูฟองมัน หรือ ฝนทองฟองมัน บางแห่งใช้เครื่องหมายวงกลมเล็ก ( ̎ ) มีฟันหนูวางอยู่ข้างบน เรียกว่า ฟองดัน
8. อังคั่น เป็นชื่อเรียกรวมของเครื่องหมายวรรคตอนโบราณ แบ่งเป็นอังคั่นเดี่ยวและอังคั่นคู่
    อังคั่นเดี่ยว หรือ คั่นเดี่ยว หรือ ขั้นเดี่ยว  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้ (ฯ)
      มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
                เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อจบบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว ใช้สัญลักษณ์เดียวกันกับไปยาลน้อย ปัจจุบันมีอังคั่นเดี่ยวให้เห็นในหนังสือวรรณคดีและตำราเรียนภาษาไทยเท่านั้น
    อังคั่นคู่ หรือ คั่นคู่ หรือ ขั้นคู่ ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้  (๚)
              เป็นเครื่องหมายวรรคตอนปรากฏในหนังสือไทยโบราณ ใช้ในบทกวีต่างๆ โดยมีไว้ใช้จบตอน นอกจากนี้ยังมีการใช้อังคั่นคู่กับเครื่องหมายอื่น ได้แก่ อังคั่นวิสรรชนีย์ (ฯะ๚ะ) ใช้เมื่อจบบทกวี และ อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร(๚ะ๛) ใช้จบบริบูรณ์






9. จุลภาค  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้  ,
    มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
             1. ใช้คั่นจำนวนเลขนับจากหลักหน่วยไปทีละ หลัก  เช่น
                    1,500             อ่านว่า   หนึ่งพันห้าร้อย
                    2,350,000     อ่านว่า   สองล้านสามแสนห้าหมื่น
             2. ใช้แยกวลีหรืออนุประโยคเพื่อกันความเข้าใจสับสน  เช่น
                   นายเทิดศักดิ์ที่นั่งคู่กับนางยุพดีเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
            3. ใช้คั่นคำในรายการที่เขียนต่อ ๆ กัน ตั้งแต่ รายการขึ้นไป โดยเขียนคั่นแต่ละรายการ  ส่วนหน้าคำ  “และ” หรือ  “หรือ”  ที่อยู่หน้ารายการสุดท้ายไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายจุลภาค  เช่น
                  พระรัตนตรัย คือ แก้ว ประการ หมายถึง พระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์
    4. ใช้ในการเขียนบรรณานุกรม  ดรรชนี  และนามานุกรม  เช่น
                  คึกฤทธิ์  ปราโมชม.ร.ว.
    5. ใช้ในหนังสือประเภทพจนานุกรมเพื่อคั่นความหมายของคำที่มีความหมายหลาย ๆ อย่าง  เช่น  
                   บรรเทา  ก.  ทุเล หรือทำให้ทุเลาผ่อนคลายหรือทำให้ผ่อนคลายลง  
10.มหัพภาค  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน มีรูปดังนี้  .
    มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
               1. ใช้เพื่อแสดงว่าจบประโยคหรือจบความ  เช่น
                        กรี  น.  กระดูกแหลมที่หัวกุ้ง.
               2. ใช้เขียนไว้หลังตัวอักษร เพื่อแสดงว่าเป็นอักษรย่อ  เช่น
                         ม.ค.  คำเต็มว่า  มกราคม
               3. ใช้เขียนไว้ข้างหลังตัวอักษรหรือตัวเลขที่บอกลำดับข้อ  เช่น
                          1.  ก.             หรือ     1. 1.
                          ข.                             2.
         ในกรณีที่มีหัวข้อย่อย ให้ใส่ลำดับข้อย่อยไว้หลังจุด  เช่น
                          1.1           อ่านว่า   หนึ่งจุดหนึ่ง
                          1.10         อ่านว่า   หนึ่งจุดสิบ
                          4.1.12      อ่านว่า   สี่จุดหนึ่งจุดสิบสอง
          
                4. ใช้คั่นระหว่างชั่วโมงกับนาทีเพื่อบอกเวลา  เช่น
                           9.30 น.         อ่านว่า   เก้านาฬิกาสามสิบนาที
                5. ใช้เป็นจุดทศนิยม แล้วจุดทศนิยมให้อ่านตัวเลขเรียงกันไป  เช่น
                           2.345            อ่านว่า   สองจุดสามสี่ห้า
                          10.75 วินาที   อ่านว่า   สิบจุดเจ็ดห้าวินาที
                          4.567 เมตร    อ่านว่า   สี่จุดห้าหกเจ็ดเมตร
        ยกเว้น  ในกรณีเงินตรา ถ้าอ่านเป็นหน่วยเงินตราได้ ให้อ่านตามหน่วยเงินตรานั้น  เช่น
                            10.50 บาท       อ่านว่า    สิบบาทห้าสิบสตางค์
                            7.75 ดอลลาร์    อ่านว่า    เจ็ดดอลลาร์เจ็ดสิบห้าเซนต์
  11. ทวิภาค ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน มีรูปดังนี้ :  
          ทวิภาค (ทะ-วิ-พาก)คือเครื่องหมายจุดสองจุดวางเรียงกัน ให้จุดหนึ่งอยู่เหนืออีกจุดหนึ่ง. ในภาษาอังกฤษ เรียกเครื่องหมายนี้ว่า colon. ภาษาไทยเรียกว่า ทวิภาค แปลว่า สองส่วน.
          ทวิภาค เป็นเครื่องหมายที่ใช้ต่อระหว่างข้อความหลักกับส่วนที่มาขยาย หรือส่วนที่ชี้เฉพาะ เช่น จงเขียนเรียงความเรื่อง แผ่นดินชื่อเครื่องหมายวรรคตอน มีรูปดังนี้  : แหล่งกำเนิดของสรรพสิ่ง. หมายความว่า งานชิ้นนี้ว่าด้วยเรื่อง แผ่นดิน แต่กำหนดเฉพาะในประเด็นที่เป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งต่าง ๆ เท่านั้น.
     ๑ใช้ไขความ แทนคำ คือ” หรือ “หมายถึง
     ตัวอย่าง
              (๑) กฤษณา : กฤษณาสอนน้อง แบบเรียนกวีนิพนธ์.
              (๒) เพชรมงกุฎ : ลิลิตเพชรมงกุฎ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ.
     ๒. ใช้หลังคำ ดังนี้” “ดังต่อไปนี้” เพื่อแจกแจงรายการ
    ตัวอย่าง
         ในสวนของนายเขียวมีไม้ผลชนิดต่าง ๆ ดังนี้ : ละมุดขนุนลางสาดเงาะมังคุด และทุเรียน.
   ๓. ใช้คั่นบอกเวลา
        ตัวอย่าง
              (๑) ๖ : ๔๕ น. [หก-นา-ลิ-กา-สี่-สิบ-ห้า-นา-ที]
             (๒) ๗ : ๓๐ : ๔๕ น. [เจ็ด-นา-ลิ-กา-สาม-สิบ-นา-ที-สี่-สิบ-ห้า-วิ-นา-ที]
             (๓) ๘ : ๒๐ : ๓๘.๘๐ น. [แปด-นา-ลิ-กา-ยี่-สิบ-นา-ที-สาม-สิบ-แปด-จุด-แปด-สูน-วิ-นา-ที]


12. ไข่ปลาหรือจุดไข่ปลา ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้ ….
      มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
                 1. ใช้สำหรับละข้อความที่ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องการกล่าวเพื่อจะชี้ว่า ข้อความที่นำมากล่าวนั้นตัดตอนมาเพียงบางส่วน ใช้ได้ทั้งตอนขึ้นต้น ตอนกลาง และตอนท้ายข้อความ โดยใช้ละด้วยจุดอย่างน้อย จุด เช่น
          ” …ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง คือ เป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งสวยงามอย่างหนึ่ง เช่นในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองซึ่งต้องหวงแหน … เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ …”
                                     พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                    พระราชทานแก่ชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์
                                                    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                                                 วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2505
                 2. ในบทร้อยกรอง ถ้าละข้อความตั้งแต่บรรทัดขึ้นไป ให้ใช้เครื่องหมายไข่ปลา หรือ จุดไข่ปลา ยาวตลอดบรรทัด  เช่น
                                    เรื่อยเรื่อยมารอนรอน               ทิพากรจะตกต่ำ
                                   สนธยาจะใกล้ค่ำ                       คำนึงหน้าเจ้าตราตรู
                            ……………………………………………………………………
                                   ปักษีมีหลายพรรณ                 บ้างชมกันขันเพรียกไพร
                                   ยิ่งฟังวังเวงใจ                        ล้วนหลายหลากมากภาษา
                ในการอ่านออกเสียง เมื่อมีเครื่องหมายไข่ปลา หรือ จุดไข่ปลา ตามตัวอย่างข้างต้นควรหยุดเล็กน้อยก่อน แล้วจึงอ่านว่า ละ ละ ละ” แล้วหยุดเล็กน้อยก่อนอ่านข้อความต่อไป

13.  วิภัชภาค   ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้ :–
        มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
                  ใช้หลังคำ ดังนี้” “ดังต่อไปนี้” เพื่อแจกแจงรายการ รายการที่ตามหลังเครื่องหมายวิภัชภาคให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ และใช้กับรายการที่แจกแจงครบทุกรายการ
ตัวอย่าง
        การสัมมนาครั้งนี้มีผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมดังต่อไปนี้ :–
                     กรมวิชาการ
                     กรมอาชีวศึกษา
                     กรมวิชาการเกษตร
                     กรมอนามัย
                     กรมการแพทย์
14. อัฒภาค  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้ ;
        มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
                 1. ใช้แยกประโยคเปรียบเทียบออกจากกัน
ตัวอย่าง
         (1) ลักษณะเขียนหนังสือ เราเขียนถ้อยคำติดกันไปหมดไม่เว้นระยะคำทุก ๆ คำอย่างเช่นลักษณะเขียนหนังสือของชาวยุโรปจึ่งทำให้เป็นที่ฉงนแก่ผู้ไม่สู้ชำนิชำนาญในเชิงการอ่านหนังสือไทยไม่ใช่แต่ชาวต่างประเทศถึงแม้คนไทย ๆ เราเองก็รู้สึกลำบากอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน.
        (2) คนบางคนมีความสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้แทบทุกชนิดบางคนเล่นไม่เป็นสักอย่าง.
        (3) น้ำมาปลากินมดน้ำลดมดกินปลา.
                2. ใช้คั่นระหว่างประโยคที่มีรูปประโยคและใจความสมบูรณ์อยู่แล้ว เพื่อแสดงความต่อเนื่องอย่างใกล้ชิดของประโยคนั้น
ตัวอย่าง
        วาทยกรประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บสาหัสการแสดงดนตรีจึงต้องงด.
              3. ใช้แบ่งประโยค กลุ่มคำ หรือกลุ่มตัวเลขที่มีเครื่องหมายจุลภาคอยู่แล้ว ออกเป็นส่วนเป็นตอนให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อกันความสับสน
3.1 แบ่งประโยค
ตัวอย่าง
             นางสาวมณฑาทิพย์กำลังแต่งตัวหวีผมแต่งหน้าจะไปทำงานบังเอิญมีแขกมาหาต้องออกมารับแขกเมื่อแขกไปแล้วจึงออกจากบ้านทำให้ไปถึงที่ทำงานสาย.
3.2 แบ่งกลุ่มตัวเลข
ตัวอย่าง
        135246
            4. ใช้คั่นคำในรายการที่มีจำนวนมาก ๆ เพื่อจำแนกรายการออกเป็นพวก 
ตัวอย่าง
        การสัมมนาครั้งนี้มีผู้แทนจากหน่วยราชการต่าง ๆ เข้าร่วมด้วย เช่น กรมวิชาการกรมอาชีวศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการกรมป่าไม้กรมวิชาการเกษตรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรมอนามัยกรมการแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข.
          5. ใช้ในหนังสือประเภทพจนานุกรม
5.1 เพื่อคั่นบทนิยามของคำที่มีความหมายหลายอย่าง แต่ความหมายนั้นมีนัยเนื่องกับความหมายเดิม
ตัวอย่าง
        (1) กิ่ง น. ส่วนที่แยกออกจากต้นแขนงใช้เรียกส่วนย่อยที่แยกออกไปจากส่วนใหญ่ แต่ยังขึ้นอยู่กับส่วนใหญ่ เช่น กิ่งอำเภอ กิ่งสถานีตำรวจลักษณะนามเรียกงาช้าง ว่า กิ่งเรือชนิดหนึ่งในกระบวนพยุหยาตรา.
        (2) ดุม น. ส่วนกลางของล้อเกวียนหรือล้อรถที่มีรูสำหรับสอดเพลาเครื่องกลัดกันส่วนต่าง ๆ ของเสื้อผ้าไม่ให้แยกออกจากกันทำเป็นรูปต่าง ๆ มักมีรังดุมสำหรับขัดกระดุม ลูกกระดุม หรือ ลูกดุม ก็เรียก.
5.2 เพื่อคั่นอักษรย่อบอกที่มาของคำ
ตัวอย่าง
        (1) กุศล [สน] น. สิ่งที่ดีที่ชอบบุญ. ว. ฉลาด (ส.ป. กุสล).
        (2) ปกรณ์ [ปะกอน] น. คัมภีร์ตำราหนังสือ. (ป. ปกรณส. ปฺรกรณ).
15.วงเล็บ  หรือ  นขลิขิต  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน  รูปดังนี้  ( )   
    มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
           
1. ใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบายไว้เป็นพิเศษ เพื่อช่วยให้เข้าใจข้อความนั้นได้แจ่มแจ้งขึ้น  เช่น    
                       มนุษย์ได้สร้าง  โลภะ (ความโลภ)  โทสะ (ความโกรธ)  และโมหะ (ความหลงผิด)
ให้เกิดขึ้นในใจของตัวเอง
             2. ใช้กันข้อความที่บอกที่มาของคำหรือข้อความ  เช่น
                       ชลี (กลอน) ก. อัญชลีไหว้
              3. ใช้กับหัวข้อที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลข ซึ่งอาจจะใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้  เช่น
                       (ก)   หรือ   ก)             (ข)   หรือ   1)
              4. ใช้กับนามเต็มที่เขียนใต้ลายมือชื่อ  เช่น
                         วัชรพงศ์  โกมุทธรรมวิบูลย์
                    (นายวัชรพงศ์  โกมุทธรรมวิบูลย์)
                      การอ่านออกเสียงข้อความที่มีเครื่องหมายวงเล็บ มีวิธีการอ่านหลายวิธี สุดแท้แต่กาลเทศะ โอกาสหรือจุดประสงค์ของการสื่อสาร  เช่น  ถ้าจะอ่านเพื่อให้ผู้ฟังจดจำไว้ให้ถูกต้อง ถ้าเป็นข้อความสั้น ๆ ควรอ่านว่า  “วงเล็บ” ตัวอย่าง
        พระยาศรีสุนทรโวหาร (ภู่)  อ่านว่า  พระยาศรีสุนทรโวหารวงเล็บภู่  หรือ พระยาศรีสุนทรโวหารภู่  ก็ได้
        พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร)  อ่านว่า  พระยาศรีสุนทรโวหาร วงเล็บน้อยอาจาริยางกูร
        ถ้าข้อความนั้นยาวมาก ให้อ่านว่า  “วงเล็บเปิด” แล้วอ่านข้อความในวงเล็บจนจบ แล้วอ่านว่า วงเล็บปิด” หรืออาจเสริมข้อความว่า ต่อไปนี้เป็นข้อความในวงเล็บ” เมื่ออ่านหมดข้อความก็อ่านว่า หมดข้อความในวงเล็บ” ก็ได้
16. บุพสัญญา ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน  รูปดังนี้  ( ” )
มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
            เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายอัญประกาศคู่แต่มีด้านปิดเพียงด้านเดียว หรือคล้ายรูปสระ ฟันหนู ( " ) ใช้สำหรับเขียนแทนคำหรือประโยคที่อยู่ในบรรทัดบนหรือเหนือขึ้นไปในตำแหน่งกึ่งกลาง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเขียนซ้ำอีก สามารถใช้ขีดกลางยาวประกอบเครื่องหมาย (เช่น ———”———) เพื่อกำหนดขอบเขตของการกล่าวซ้ำโดยสังเขป และอาจพบเครื่องหมายบุพสัญญามากกว่าหนึ่งตัวในการซ้ำครั้งเดียวกัน (เช่น —”———”—)เวลาอ่านต้องอ่านคำเต็ม บทนิพนธ์หลายชนิดอาทิวิทยานิพนธ์ ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายนี้ปรากฏในเนื้อหาเพื่อละข้อความ แต่ให้ใช้คำเต็มแทน [1]
ภาษาญี่ปุ่นก็มีการใช้บุพสัญญา มีปรากฏในรหัสยูนิโคด U+3003 ดังนี้  มีชื่อเรียกว่า ditto mark หรือ โนะโนะจิเท็น (ノノ字点รูปร่างคล้ายกับของภาษาไทยแต่เขียนอยู่ในระดับเดียวกับบรรทัด ภาษาอื่นที่นอกเหนือจากนี้ไม่มีการใช้บุพสัญญา แต่อาจพบการใช้ขีดกลางยาว (em dash) หรือคำว่า Ibid. และ Id. แทนในบรรณานุกรม
ตัวอย่างการใช้งาน
                                      บุพสัญญาในกรณีนี้ใช้แทนวลี "เป็นวรรณคดีในรัชสมัย" ที่อยู่ข้างบน
ในทางปฏิบัติ การใช้เครื่องหมายนี้เหมาะกับการเขียนมากกว่าการป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ เนื่องจากโปรแกรมประมวลคำหรือเว็บเบราว์เซอร์มักจัดตำแหน่งตามแนวดิ่งไม่ตรงกัน อันมีสาเหตุมาจากความกว้างของตัวอักษรแต่ละตัวที่ไม่เท่ากัน (หากใช้ไทป์เฟซแบบความกว้างเท่ากันจะไม่เกิดปัญหานี้) จึงต้องใช้ตารางเข้ามาช่วยจัดรูปแบบ นอกจากนั้นระบบคอมพิวเตอร์สามารถคัดลอกข้อความซ้ำไปวางไว้ในตำแหน่งที่ต้องการได้ เครื่องหมายนี้จึงมีความสำคัญน้อยลง



17.  ปรัศนี   ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้ ?
         มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
                1. ใช้เมื่อสิ้นสุดความหรือประโยคที่เป็นคำถาม หรือใช้แทนคำถาม
ตัวอย่าง
         (1) ใคร ? เขาถามขึ้น
         (2) ทำไมคุณจึงเลิกแต่งหนังสือ ?
               2. ใช้หลังข้อความเพื่อแสดงความสงสัยหรือไม่แน่ใจ มักเขียนอยู่ในวงเล็บ
ตัวอย่าง
         (1) กฤษฎาธาร [กฺริดสะดาทานพระที่นั่งที่ทำขึ้นสำหรับเกียรติยศ (?) เช่น พระมหาพิชัยราชรถกฤษฎาธาร. (เรื่องพระบรมศพ).
         (2) ในหนังสือราชาธิราชว่า พระเจ้าฟ้ารั่วทิวงคตเมื่อปีฉลู จุลศักราช ๖๗๕ .๑๘๕๖ มกะตาเป็น
อนุชาได้ราชสมบัติ ให้เข้ามาทูลขอให้สมเด็จพระร่วงตั้งพระนามอย่างครั้งพระเจ้าฟ้ารั่ว ได้รับพระนามว่า พระเจ้ารามประเดิด (ประดิษฐ์?)
18.ยัติภังค์ ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้  -
    อาจใช้ได้หลายขนาด แต่ไม่ควรเกิน ช่องตัวอักษร
    มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
             1. ใช้เขียนไว้ที่สุดบรรทัดเพื่อต่อพยางค์หรือคำสมาส ซึ่งจำเป็นต้องเขียนแยกบรรทัดกัน เนื่องจากมาอยู่ตรงสุดบรรทัด และไม่มีที่พอจะบรรจุคำเต็มได้ เช่น
        ตำแหน่งประ-
        ธานสภาผู้แทนราษฎร
        นายกราช-
        บัณฑิตยสถาน
             2. ใช้เขียนไว้ท้ายวรรคหน้าในบทร้อยกรอง เพื่อต่อพยางค์หรือคำสมาส ที่จำเป็นต้องเขียนคาบบรรทัดกัน เพื่อให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ เช่น
                         คนเด็ดดับสูญสัง-             ขารร่าง
             3. ใช้แยกพยางค์เพื่อบอกคำอ่าน โดยเขียนไว้ระหว่างพยางค์แต่ละพยางค์ เช่น
                         เสมา      อ่านว่า     เส-มา
             4. ใช้ในความหมายว่า และ” หรือ กับ”  เช่น
                         เชิญชมการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษระหว่างทีม นครสวรรค์ – พิจิตร (กับ)
       ภาษาตระกูลไทย – จีน  (และ)
              5. ใช้ในความหมายว่า ถึง” เพื่อแสดงช่วงเวลา จำนวน สถานที่ (เวลาเขียนหรือพิมพ์ให้เว้นหน้าและหลังเครื่องหมาย – ประมาณ ช่วงตัวอักษร) เช่น
                     เวลา 9.00 – 10.30 น.   อ่านว่า   เวลาเก้านาฬิกาถึงสิบนาฬิกาสามสิบนาที
                     มีผู้ชมประมาณ 10- 20 คน   อ่านว่า   มีผู้ชมประมาณสิบถึงยี่สิบคน
                     ระยะทาง นครนายก – จันทบุรี   อ่านว่า   ระยะทางนครนายกถึงจันทบุรี
               6. ใช้เขียนแสดงลำดับย่อยของรายการที่ไม่ต้องใส่ตัวอักษร หรือตัวเลขนอกลำดับงาน มีรายการคร่าว ๆ
ดังนี้
                         – พิธีเปิดงาน                      – รำอวยพร
                         – ดนตรีบรรเลง                  – ปิดงาน
19.ยัติภาค  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้ —  (ยาว ๒๓ ช่วงตัวอักษร)
        มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
              1. ใช้ในความหมายว่า และ” หรือ กับ” เพื่อบอกความสัมพันธ์ของคำ ๒ คำ
ตัวอย่าง
       (1) เรณูสัญญา
              มีความยินดีขอเชิญร่วมรับประทานอาหาร
              เนื่องในงานมงคลสมรส
       (2) ฟุตบอลคิงส์คัปชิงชนะเลิศระหว่างไทยอินโดนีเซีย ที่สนามศุภชลาศัย เริ่ม ๑๘.๐๐ น.
       (3) ภาษาตระกูลไทยจีน
             2. ใช้ขยายความ
ตัวอย่าง
        (1) ถิ่นพายัพ (หมายความว่า เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคพายัพ).
        (2) ขุนช้างขุนแผนแจ้ง (หมายความว่า เป็นเรื่องขุนช้างขุนแผนสำนวนครูแจ้ง).
             3. ใช้ในความหมายว่า ถึง” เพื่อแสดงช่วงเวลา จำนวน สถานที่ ฯลฯ เช่นเดียวกับเครื่องหมายยัติภังค์
ตัวอย่าง
        (1) เวลา ๑๐.๓๐๑๒.๐๐ น. [ เวลาสิบนาลิกาสามสิบนาทีถึงสิบสองนาลิกา]
        (2) ตั้งแต่วันจันทร์วันเสาร์ [ตั้งแต่วันจันถึงวันเสา]
        (3) ประมาณ ๕๐๐๖๐๐ คน [ ปฺระมานห้าร้อยถึงหกร้อยคน]
        (4) ระยะทางลำปางเชียงใหม่ [ระยะทางลำปางถึงเชียงใหม่]
            4. ใช้แทนคำว่า เป็น

ตัวอย่าง
        พจนานุกรมไทยอังกฤษ (หมายความว่า พจนานุกรมไทยเป็นอังกฤษ).
          5. ใช้แสดงลำดับย่อยของรายการที่ไม่ต้องการใส่ตัวอักษรหรือตัวเลขบอกลำดับข้อ
ตัวอย่าง
        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอาจสรุปความเคลื่อนไหวทางวรรณคดีได้ดังนี้
             —วรรณคดีประเภทร้อยกรอง เจริญถึงขีดสุดอีกวาระหนึ่ง
             —วรรณคดีประเภทร้อยแก้ว ก้าวหน้ายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน
             —เป็นระยะเวลาที่คติทางตะวันตกเข้ามาในวงวรรณคดีไทยมากที่สุด ถ้าเทียบกับสมัยก่อน ๆ
             —หวนนิยมวรรณคดีสันสกฤตอีกวาระหนึ่งเหมือนสมัยยุธยา แต่ในคราวนี้ผ่านมาทางต้นฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ.

20.สัญประกาศ  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้  ___
      มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้คือ 
            ใช้ขีดไว้ใต้คำหรือข้อความที่สำคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ  เช่น    หลักการอ่านตัวเลขมีตีพิมพ์รวมอยู่ในหนังสืออ่านอย่างไร-เขียนอย่างไร
21.เสมอภาคสมการสมพล หรือ เท่ากับ ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้( = )
          เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง ลักษณะเป็นขีดแนวนอนสองเส้นขนานกัน เขียนอยู่กลางบรรทัด ปกติใช้เพื่อแสดงความเทียบเท่ากันของสิ่งที่อยู่ทางซ้ายและทางขวา
22.อัญประกาศ  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้  “  “
    มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
            1. ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้น เป็นคำพูดหรือความนึกคิด เช่น  ครูพูดกับนักเรียนว่า ” ขอให้ทุกคนตั้งใจจริง แล้วจะประสบความสำเร็จ 
             2. ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้นคัดมาจากที่อื่น เช่นสุนทรภู่เขียนเตือนใจเรื่องความมีไมตรีต่อกันไว้ในเรื่องพระอภัยมณีตอนหนึ่งว่า
        ” ปรารถนาสารพัดในปัถพี  เอาไมตรีแลกได้ดังใจจง 
             3. ใช้เพื่อเน้นคำหรือข้อความนั้นให้เด่นชัดขึ้น  เช่น
        คำว่า ตะโก้” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึง ” ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนเข้ากับน้ำตาล ใส่แห้วหรือข้าวโพดเป็นต้นก็ได้ หยอดหน้าด้วยกะทิกวนกับแป้ง  
                 ในการอ่านออกเสียง เมื่อมีเครื่องหมายอัญประกาศเปิดให้อ่านว่า อัญประกาศเปิด”  และเมื่อถึงเครื่องหมายอัญประกาศปิดให้อ่านว่า อัญประกาศปิด
                  ถ้าข้อความในเครื่องหมายอัญประกาศมีความยาวหลายย่อหน้าและใส่เครื่องหมายอัญประกาศเปิด ไว้หน้าย่อหน้าทุกย่อหน้าดังตัวอย่าง ให้อ่าน  “อัญประกาศเปิด”  เฉพาะเมื่อเริ่มข้อความเท่านั้น และอ่าน  “อัญประกาศปิด” เมื่อจบข้อความ
23อัศเจรีย์  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้  !
      มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
            1. ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือประโยคที่เป็นคำอุทาน  เช่น
                   อื้อฮือ ! มากจังเลย
            2. ใช้เขียนหลังคำเลียนเสียงธรรมชาติ เพื่อให้ผู้อ่านทำเสียงได้เหมาะสมกับเหตุการณ์ในเรื่องนั้น ๆ  เช่น    โครม !

24.ตีนครุ หรือ ตีนกา  ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้  (  )
ตีนครุ หรือ ตีนกา (  ) คือเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่งของไทยในสมัยโบราณ มีลักษณะคล้ายเครื่องหมายบวกแต่ใหญ่กว่า ใช้สำหรับบอกจำนวนเงินตรา โดยใช้ตัวเลขกำกับไว้ ตำแหน่งบนเครื่องหมาย ได้แก่ เหนือเส้นตั้งคือชั่ง มุมบนซ้ายคือตำลึง มุมบนขวาคือบาท มุมล่างขวาคือสลึง มุมล่างซ้ายคือเฟื้อง และใต้เส้นตั้งคือไพ วิธีอ่านจะอ่านจาก ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ไพ ตามลำดับ
                        จากรูปตัวอย่าง สามารถอ่านจำนวนเงินได้เท่ากับ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ไพ
สำหรับจำนวนเงินที่มีเฉพาะ ตำลึง บาท สลึง หรือเฟื้อง สามารถเขียนย่อให้เหลือเพียงมุมใดมุมหนึ่งได้ เช่น
หมายถึงจำนวนเงิน สลึง เป็นต้น


25.ทับ ชื่อเครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้  /  อ่าน ทับ” เวลาเขียนไม่ต้องเว้นวรรคหน้าและหลังเครื่องหมาย
      
มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
               1. ใช้ขีดหลังจำนวนเลข เพื่อแบ่งจำนวนย่อยออกจากจำนวนใหม่  ส่วนมากเป็นบ้านเลขที่ และหนังสือราชการ สำหรับการอ่านบ้านเลขที่ มีหลักการอ่านดังนี้
              บ้านเลขที่ที่มีเครื่องหมายทับ “/” และบ้านเลขที่ที่ไม่มีเครื่องหมายทับ “/” มีหลักการอ่านเหมือนกันคือ บ้านเลขที่ซึ่งมีตัวเลข หลัก ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ถ้ามีตัวเลข หลักขึ้นไป ให้อ่านแบบเรียงตัวเลขหรือแบบจำนวนเต็มก็ได้ ตัวเลขหลังเครื่องหมายทับ “/” ให้อ่านเรียงตัว  เช่น
          บ้านเลขที่ 10 อ่านว่า บ้าน – เลก – ที่ สิบ
          บ้านเลขที่ 414   อ่านว่า บ้าน – เลก – ที่ สี่ – หนึ่ง – สี่  หรือ  บ้าน – เลก – ที่สี่ – ร้อย -สิบ – สี่
          บ้านเลขที่ 56/342 อ่านว่า บ้าน – เลก – ที่ ห้า – สิบ – หก ทับ สาม – สี่ – สอง
          บ้านเลขที่ 657/21 อ่านว่า  บ้าน – เลก – ที่ หก – ห้า – เจ็ด ทับ สอง – หนึ่ง  หรือ
                                                บ้าน – เลก – ที่ หก – ร้อย – ห้า – สิบ – เจ็ด ทับ สอง – หนึ่ง
          กลุ่มตัวเลขที่เลข นำหน้า อ่านเรียงตัวเสมอ  เช่น
          บ้านเลขที่ 1864/1108  อ่านว่า บ้าน -เลก -ที่ สูน – แปด – หก – สี่ ทับ หนึ่ง – หนึ่ง – สูน – แปด
          ส่วนหนังสือราชการนิยมอ่านเรียงตัว เช่น
          ที่ ศธ. 0308/205  อ่านว่า ที่ – สอ – ทอ – สูน – สาม – สูน – แปด ทับ สอง – สูน – ห้า
          2. ใช้ขีดคั่นระหว่างเลขบอกลำดับศักราช เช่น
          คำสั่งโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม ที่ 1/2543
          3. ใช้ขีดคั่นระหว่างตัวเลขแสดงวัน เดือน ปี เช่น 3/12/2543 (วันที่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2543)
          4. ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ และ” กับ หรือ” เป็น และ/หรือ”  หมายความว่า อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้
           “….ใช้ผสมและ / หรือโรยบนผิวหน้าวัสดุที่ทำเครื่องหมายบนผิวทาง…”
          5. ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ แทนคำว่า หรือ” หมายความว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ตรอก/ซอย,  อำเภอ/เขต
          6. ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ มีความหมายว่า ต่อ” เช่น  กิโลเมตร/ชั่วโมง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ gif

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น